บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2024

วว. ระดมความคิดเครือข่ายพันธมิตรทุกภาคส่วน กำหนดแนวทางนำ วทน. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ/สังคมของประเทศ

รูปภาพ
  วว. ระดมความคิดเครือข่ายพันธมิตรทุกภาคส่วน กำหนดแนวทางนำ วทน. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ/สังคมของประเทศ รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ประธานกรรมการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมระดมความคิด “บทบาทการดำเนินงานของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในอนาคต” ในการนี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของ วว. ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้สามารถนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและร่วมกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริการ และการพัฒนา วว. ภายใต้แผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2567 – 2570 โดยเน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานกำกับดูแล พันธมิตรคู่ความร่วมมือ ลูกค้า คู่ค้า คู่เทียบ ชุมชน สังคม และสื่อมวลชน โอกาสนี้ ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว. นำเสนอบทบาทภารกิจและผลการด...

อาจารย์คณะวิทย์ ม.รามฯ คว้ารางวัล UNESCO/IOC-WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024

รูปภาพ
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง คว้ารางวัล UNESCO/IOC-WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024      รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และนายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น (WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024) จากคณะอนุกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (IOC Sub Commission for the Western Pacific: IOC-WESTPAC) ภายใต้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อเชิดชูนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ทางทะเล มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก ปัจจุบัน IOC-WESTPAC ประกอบด้วย 22 ประเทศสมาชิก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม ไทย ฯลฯ      พิธีมอบรางวัล UNESCO/IOC-WESTPAC Outstanding Scientist Award 2024 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ภายในงานประชุมวิชาการนานาชาติ 2nd UN Ocean Decade Regi...

วว. โดย สถานีวิจัยลำตะคอง จัดกิจกรรมต้อนรับปิดเทอม “ยอดนักสืบ...โลกแมลง”

รูปภาพ
  วว. โดย สถานีวิจัยลำตะคอง จัดกิจกรรมต้อนรับปิดเทอม “ยอดนักสืบ...โลกแมลง” รุ่นที่ 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  โดยสถานีวิจัยลำตะคอง จัดกิจกรรม “ยอดนักสืบ...โลกแมลง” รุ่นที่ 1  ในวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2567  เวลา 08.30-15.00 น. ณ ศูนย์อนุรักษ์แมลงเขตร้อน สถานีวิจัยลำตะคอง ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา สำหรับน้องๆ และผู้ปกครองที่กำลังมองหากิจกรรมเสริมในช่วงปิดเทอม เพื่อเปิดประสบการณ์แปลกใหม่ นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน  ได้แก่  เรียนรู้วงจรชีวิต การเจริญเติบโต และการดำรงชีวิตของแมลง สัมผัสกับแมลงมีชีวิตหลากหลายชนิด เช่น ผีเสื้อ ตั๊กแตนใบไม้ ตั๊กแตนกิ่งไม้ ตั๊กแตนตำข้าวคอนฟิวซ่า แมงมุมทารันทูล่า เป็นต้น นอกจากนั้นยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้กินแมลง ความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับแมลง พืชบางกลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากแมลงเป็นแหล่งธาตุอาหารให้แก่ตัวเอง เปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2567  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  ได้ที่  เพจ สถานีวิจัยลำตะค...
รูปภาพ
 วช. ร่วมสร้างสังคมปลอดภัย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม “BeBrave” ป้องกันการกระทำความผิดทางเพศ ในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน  วันที่ 11 เมษายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการนำเสนอผลการศึกษาและผลผลิต “โครงการพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางเพศในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ” ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “นวัตกรรมการอุดมศึกษาเพื่อสร้างความปลอดภัยให้สังคมไทย”  ซึ่งโครงการดังกล่าวฯ เป็นโครงการที่ วช. ให้การสนับสนุน แก่ รศ.ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร หัวหน้าแผนงานโครงการฯ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมคณะนักวิจัย  ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม...

วช. ผนึก คณะเกษตรฯ ม.นเรศวร ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ยกระดับการผลิตมันป่าเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรม

รูปภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพทางภูมิอากาศของประเทศไทยอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายของระบบนิเวศน์ของป่าหลายประเภท มีพรรณพืชหลากหลายชนิด ในปัจจุบันพื้นที่ป่ามีจำนวนลดลงจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ล้วนทำให้พรรณพืชที่มีการใช้ประโยชน์มีน้อยหรือถูกทำลายลง กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงมีพระราชดำริ และได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาพื้นที่ป่ามีจำนวนลดลง ทรงได้รับสั่งให้ดำเนินงานหลายอย่างเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) และการจัดตั้งธนาคารพืชพรรณ ทรงสนับสนุนให้มีการรวบรวมพันธุ์พืชเฉพาะถิ่น พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ ตลอดจนประโยชน์ของพืชชนิดต่าง ๆ การทำเกษตรกรรม รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะนักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย นายพุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม นักวิชาการเกษตร ได้รับโจทย์วิจัยและการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท เป็นผู้ร่วมวิจัย ได้จัดทำโครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาความหลากห...