ทีมนักประดิษฐ์ นักวิจัยไทย เก่ง! คว้ารางวัลจากเวที “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ทีมนักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยคว้ารางวัลจากเวที “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

     ทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยสร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทยอีกครั้ง ในการคว้ารางวัลจากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2023) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ณ Exhibition Centre Nuremberg เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
     สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทย คว้ารางวัลในเวที iENA 2023 ในระดับเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญบรอนซ์ พร้อมด้วย Special Prize  จากองค์กรนานาชาติ 

     โดยส่วนหนึ่งของผลงานที่ได้รับรางวัล ในระดับเหรียญทอง ได้แก่
     - ผลงานเรื่อง “เครื่องคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนแบบพกพาด้วยแสงความยาวคลื่นช่วงใกล้อินฟราเรดเพิ่มประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ (เวอร์ชั่น 2)” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
     - ผลงานเรื่อง “เครื่องช่วยขึ้น-ลงที่สูงสำหรับช่างสาย” โดย นายคมกฤษ ศรีสุดา และคณะ จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
     - ผลงานเรื่อง “N-SPR : นวัตกรรมชุดตรวจลายนิ้วมือแฝงราคาประหยัดจากเปลือกมันสำปะหลัง” โดย นายชนาธิป อมรธรรมสถิต และคณะ จาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
     - ผลงานเรื่อง “เครื่องวัดค่า vital signs ผ่านแอปพลิเคชันแบบ Real-time” โดย เด็กหญิงชญพรรษ วาฤทธิ์ และคณะ จาก โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

     และผลงานในระดับเหรียญรางวัลต่างๆอีก 17 ผลงาน

     พร้อมด้วยผลงานที่ได้รับ Special Prize on stage จากองค์กรนานาชาติ ได้แก่

- รางวัลจาก International Federation of Inventors' Associations (IFIA Best Invention  Award) จากผลงานเรื่อง “เครื่องคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนแบบพกพาด้วยแสงความยาวคลื่นช่วงใกล้อินฟราเรดเพิ่มประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ (เวอร์ชั่น 2)” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

- รางวัลจาก Association of Polish Inventors and Rationalizers สาธารณรัฐโปแลนด์ (Special Award) จากผลงานเรื่อง “หุ่นจำลองอวัยวะหนูขาวใหญ่ (Rattus norvegicus) ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ ในรูปแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ภาวนา เชื้อศิริ และคณะ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   

- รางวัลจาก The 1st Institute Inventors and Researchers in I.R. Iran สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (FIRI Award) จากผลงานเรื่อง “อีซี่การ์ด” โดย นายเพิ่มพล ตันสกุล และคณะ จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 
     ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ร่วมในพิธีมอบรางวัลและกล่าวแสดงความยินดีกับนักประดิษฐ์นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากเวที iENA 2023 ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงและการยอมรับในมาตรฐานของผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของประเทศไทย ในเวทีนานาชาติ รวมทั้ง วช.จะได้ส่งเสริมและต่อยอดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ได้รับรางวัล เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ การสร้างโอกาสใหม่ๆในการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพและการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆอย่างเป็นมาตรฐานต่อไป
     สำหรับ 13 หน่วยงานจากประเทศไทยที่ร่วมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในการคว้ารางวัลจากเวที “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products”  ได้แก่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ 
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี 
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ กระทรวง อว. “หมอรุ่งเรือง” ได้รับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่ง “ประธานมูลนิธิสุชาติ เจตนเสน“ มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาระบบสาธารณสุขและงานระบาดวิทยาภาคสนามเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาสาธารณสุขไทย

สช.เสริมทัพ ‘สานพลัง’สร้างสังคมการรู้เท่าทันสื่อพร้อมหนุนสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อนการสื่อสารอย่างมีสุขภาวะ

รัฐมนตรี “ศุภมาส” นำวิทยาศาสตร์ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ให้กรมวิทย์ฯ บริการร่วมมือทุกภาคส่วนทำให้ทุกพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารทั่วประเทศ “มีน้ำดื่มสะอาดปลอดภัย”